เป้าหมาย(Understanding Goal) : เข้าใจวิธีการและเห็นสัมพันธ์การประดิษฐ์ว่าวที่เชื่อมโยงกับความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นได้ สามารถออกแบบและประดิษฐ์ว่าวของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์

Week 9

เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายนำเสนอเผยแพร่นิทรรศการว่าวให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และเข้าใจได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
9
19-23.. 2559
โจทย์ :
นำเสนอนิทรรศการล้อมวงจี้ข้าว
นอนดูดาว ฟังเสียงสะนูว่าว
Key Questions :
นักเรียนจะนำเสนอเผยแพร่นิทรรศการว่าวให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และเข้าใจได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
       
Round Robin ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำเสนอนิทรรศการว่าว
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการว่าว
Show and Share นำเสนอเกี่ยวกับการวางแผนออกแบบเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและอุปกรณ์
วิทยากร(ครูอ้น อ.นฤมล และครูวุฒิ)
- บรรยากาศในโรงเรียน

วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง:
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดนักเรียนจะนำเสนอเผยแพร่นิทรรศการว่าวให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และเข้าใจได้อย่างไร?
เชื่อม:
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำเสนอนิทรรศการว่าว
ใช้:
- นักเรียนแต่ละคนร่วมจัดนิทรรศการวิ่งว่าว ล้อมวงจี้ข้าว นอนดูดาว ฟังเสียงสะนูว่าว
วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ใช้:
- นักแบ่งกลุ่มเพื่อออกแบบ จัดฐานกิจกรรม 4 ฐาน
ฐานที่1 : ประวัติความเป็นมา / ประเภท
ฐานที่2 : พาทำว่าว
ฐานที่3 : พาทำสะนูว่าว
ฐานที่4 : เล่นว่าว
ฐานที่5 :มุมศิลป์จากว่าว
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์จัดฐานกิจกรรม
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมเตรียมนำเสนอกิจกรรมฐานการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง
วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
ใช้:
- กิจกรรมในตอนเย็น  จี่ข้าว นอนดูดาว ฟังเสียงสะนูว่าว
- เชิญวิทยากร(ครูอ้น อ.นฤมล และครูวุฒิ) มาร่วมวงสนทนาเกี่ยวกับว่าว
เชื่อม:
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับนิทรรศการว่าว
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนถอดบทเรียนจากกิจกรรมค้างแรมกิจกรรมชมว่าวที่โรงเรียนฯ
ชง:
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม:                                                                                     - นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Rubinพร้อมทั้งรวมทั้งพูดคุยวิเคราะห์ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหา
ใช้ :      
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก                                                              
- นักเรียนแต่ละคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่9 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

ภาระงาน
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำเสนอนิทรรศการว่าว
- นักแบ่งกลุ่มเพื่อออกแบบ จัดฐานกิจกรรม 4 ฐาน
ฐานที่1 : ประวัติความเป็นมา / ประเภท
ฐานที่2 : พาทำว่าว
ฐานที่3 : พาทำสะนูว่าว
ฐานที่4 : เล่นว่าว
ฐานที่5 :มุมศิลป์จากว่าว
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับนิทรรศการว่าว

ชิ้นงาน
- นิทรรศการว่าว
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่9
ความรู้:
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายนำเสนอเผยแพร่นิทรรศการว่าวให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และเข้าใจได้

ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-  เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม 
เรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการแก้ปัญหา
 -  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำว่าวและการวิ่งว่าวได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับว่าว และวิธีการทำว่าวให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูล /การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นได้
สร้างสรรค์ชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจจากสิ่งที่ได้เรียนรู้
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
มีวินัยและความรับผิดชอบ
ต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย



ตัวอย่างภาพกิจกรรม




















ตัวอย่างชิ้นงาน












สรุปถอดบทเรียนรายสัปดาห์







1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.5ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการนำเสนอเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้ว.ว่าวแล่นลมผ่านการจัดงานสืบสายป่านในชั่วโมงแรกครูทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาในสัปดาห์ที่แล้วหลังจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนจะนำเสนอเผยแพร่นิทรรศการว่าวให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และเข้าใจได้อย่างไร? นักเรียนแต่ละคนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการนำเสนอเผยแพร่นิทรรศการว่าว พี่ๆป.5 แต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันเตรียมอุปกรณ์และช่วยกันคนละไม้คนละมือจัดสถานที่แต่ละฐานการเรียนรู้ เมื่อถึงวันที่นำเสนอเผยแพร่นิทรรศการว่าวพี่ๆป.5แต่ละกลุ่มตั้งใจเผยแพร่นำเสนองานและร่วมเรียนรู้ร่วมกับซุ้มการเรียนรู้ของพี่ๆน้องๆอย่างสนุกสนาน บรรยากาศในงานสืบสายป่าน งานว่าวรื่นเริงสนุกสนานเต็มด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะและมีซุ้มฐานการเรียนรู้ของพี่ๆแต่และชั้น กิจกรรมในตอนเย็นของพี่ๆป.5 กิจกรรมจี่ข้าว นอนดูดาว ฟังเสียงสนู พี่ๆป.5 แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มเพื่อเรียนรู้เรื่องเล่าดีๆจากวิทยากร ครูอ้น อาจาร์ยนฤมลและครูวุฒิหลังจากนั้นพี่ๆป.5แต่ละกลุ่มถอดบทเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิทยากรและร่วมนำเสนอให้คุณครูและเพื่อนๆได้รับฟังร่วมกัน
    กลุ่มพี่น้ำอ้อยได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของว่าวจากครูอ้นในสมัยแต่ก่อนว่าวหง่าวมีเสียงมีชื่อมาจากเสียงร้องของแมวค่ะ
    กลุ่มพี่อั้ม: เสียงของสนูเกิดจากคนสมัยก่อนทำว่าวแล้วไม่สมดุลเขาจึงเอาดินมาติดให้หัวของว่าวหนักแต่ดินไม่ติดจึงใช้ไม้มัดกับเชือกเลยวิวัฒนาการมาเป็นเสียงสนูค่ะ
    กลุ่มพี่น้ำมนต์: กลุ่มหนูได้เรียนรู้ว่าวกับชีวิตจากอาจารย์นฤมลค่ะคนเราก็เปรียบเสมือนว่าวที่ลอยอยู่ข้างบนและตกลงมาก็เปรียบกับชีวิตเรามีขึ้นมีลงค่ะ
    หลังจากที่พี่ๆป.5 ได้นำเสนอถอดบทเรียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิทยากรเสร็จพี่ได้นั่งดูดาวฟังเรื่องเล่าดวงดาวต่างๆจากครูอ้นอย่างสนุกสนาน
    ในช่วงเช้าพี่ๆได้เดินชมป่าโคกหีบชุมชนบ้านกวางงอยเพื่อซึบซับธรรมชาติที่อยุ่รอบๆตัวในระหว่างทางเดินพี่ๆต่างก็มีคำถามตลอดเส้นทางที่เดิน พี่ๆเดินเข้าไปถึงบุหีบเข้าไปปัดกวาดทำความสะอาดและไหว้พระก่อนเดินทางกลับมาโรงเรียน เมื่อถึงโรงเรียนพี่ๆต่างก็เก็บของกวาดดูแลสถานที่ก่อนรับประทานอาหารเช้าร่วมกันและเดินทางกลับบ้านค่ะ

    ตอบลบ