เป้าหมาย(Understanding Goal) : เข้าใจวิธีการและเห็นสัมพันธ์การประดิษฐ์ว่าวที่เชื่อมโยงกับความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นได้ สามารถออกแบบและประดิษฐ์ว่าวของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์

Week 3

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ความเชื่อของว่าวแต่ละชนิดได้
Week
Input
Process
Output
Outcome



3
7-11 ..2559

โจทย์ : ประวัติความเป็นมาของว่าว แต่ละชนิด
Key Questions :
ว่าวมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?
เครื่องมือคิด
Round Robin พูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีแต่ละพื้นถิ่นของว่าว
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับ Timeline ว่าว(ว่าวจุฬา, ว่าวปักเป้า, ว่าวดุ๊ยดุ่ย, ว่าววงเดือน, ว่าวงู, ว่าวอีลุ่ม, ว่าวแอก, ว่าวนก)
Show and Share นำเสนอ Timeline ว่าว(ว่าวจุฬา, ว่าวปักเป้า, ว่าวดุ๊ยดุ่ย, ว่าววงเดือน, ว่าวงู, ว่าวอีลุ่ม, ว่าวแอก, ว่าวนก)
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องสมุด
- internet
- บรรยากาศในห้องเรียน

วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง:
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดว่าวมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มกลุ่มละเท่าๆกัน(8กลุ่ม กลุ่มละ3คน) เพื่อจับฉลาก เลือกประเภทของว่าว(ว่าวจุฬา, ว่าวปักเป้า, ว่าวดุ๊ยดุ่ย, ว่าววงเดือน, ว่าวงู, ว่าวอีลุ่ม, ว่าวแอก, ว่าวนก)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับว่าวที่แต่ละกลุ่มได้
วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับว่าวที่แต่ละกลุ่มได้
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีแต่ละพื้นถิ่น ในรูปแบบTimeline ว่าวของแต่ละกลุ่ม
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้: (ต่อ)
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีแต่ละพื้นถิ่น ในรูปแบบTimeline ว่าวของแต่ละกลุ่ม
เชื่อม:
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีแต่ละพื้นถิ่น ในรูปแบบTimeline
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
ชง  :                                                                              ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม :                                                                                     - นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- นักเรียนทุกคน Show and Share นำเสนอชิ้นงาน Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้ของตนเองให้ครูและเพื่อนๆฟัง
ใช้ :                                                                                    
นักเรียนแต่ละคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่3 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

ภาระงาน
 - ทดลองวิเคราะห์ผลการทดลอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีแต่ละพื้นถิ่น ในรูปแบบ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ วิถีแต่ละพื้นถิ่น ในรูปแบบTimeline ว่าวของแต่ละกลุ่ม

ชิ้นงาน
- Timeline ว่าว(ว่าวจุฬา, ว่าวปักเป้า, ว่าวดุ๊ยดุ่ย, ว่าววงเดือน, ว่าวงู, ว่าวอีลุ่ม, ว่าวแอก, ว่าวนก)
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่3
ความรู้:
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ความเชื่อของว่าวแต่ละชนิดได้

ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย





ตัวอย่างภาพกิจกรรม


















ตัวอย่างชิ้นงาน





ตัวอย่างสรุปบทเรียนรายสัปดาห์





1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของว่าว ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อของว่าว ครูตั้งคำมกระตุ้นการคิดว่าวมีประวัติความเป็นมาอย่างไร? นักเรียนแต่ละคนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของว่าวร่วมกัน นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คนเพื่อจับฉลากเลือกหัวข้อสืบค้นประวัติความเป็นมาของว่าวแต่ละชนิด(ว่าวจุฬา, ว่าวปักเป้า, ว่าวดุ๊ยดุ่ย, ว่าววงเดือน, ว่าวงู, ว่าวอีลุ่ม, ว่าวแอก, ว่าวนก)และนำมาสำเสนอในรูปแบบ Time line ว่าว หลังจากที่สืบค้นข้อมูลเสร็จครูและนักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มาพูดคุยวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของว่าวแต่ละกลุ่ม
    พี่น้ำมนต์: หนูสืบค้นมาค่ะครูว่าวมีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนค่ะ คนในสมัยก่อนในประเทศจีนทำขึ้นเพื่อใช้ข้ามจากเกาะหนึ่งไปยังอีกเกาะหนึ่งค่ะ
    พี่น้ำอ้อย: ว่าวเข้ามาในประเทศไทยคือพระเทพราชาใช้ทำสงครามโดยใช้ว่าวติดกับระเบิดและตัดสายป่านว่าวจะตกลงและระเบิดค่ะครู
    พี่สุเอก: ผมสืบค้นข้อมูลว่าว่าวใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารด้วยครับ
    พี่อั้ม:ในต่างประเทศเขาก็มีกรเล่นว่าวเหมือนของไทยเลยค่ะครู พี่เฟรม ผมได้ว่าววงเดือนครับครูว่าววงเดือนเป็นว่าวของภาคใต้ครับ
    พี่มิ้นท์:ว่าวควายนิยมเล่นในภาคใต้ค่ะเขาทำขึ้นเพื่อบูชาควายที่ควายทำนาให้กับเราเขาเชื่อว่าการทำว่าวควายจะชวยส่งควายขึ้นสวรรค์ค่ะ
    พี่แป้ง: ครูค่ะหนูเพิ่งรู้ว่าว่าวแอกที่เราเรียกว่าว่าแอกจริงๆแล้วเขามีชื่อว่าว่าวหง่าวค่ะครู
    พี่น้ำอ้อย: หนูรู้แล้วค่ะครูว่าว่าวมีความหมายว่าอย่างไรคนไทยสมัยก่อนรับภาษามาจากภาษาบาล ภาษามอญ ว่าวในภาษามอญแปลว่าหนาวค่ะครูหนูคิดว่าว่าวเขาใช้เล่นในฤดูหนาวเท่านั้นเพราะฤดูหนาวจะมีลมบนทำให้ว่าวติดลมค่ะ
    พี่วิว: ว่าวในประเทศไทยมี 2 ประเภทค่ะ คือว่าวแผงและว่าวสวยงาม ว่าวแผงก็จะมี ว่าอีลุ่ม ว่าวจุฬา ว่าววงเดือน ว่าวสวยงามก็จะมีว่าที่ตกแต่งเช่นว่าวสัตว์ต่างๆค่ะครู
    พี่บาส พี่บีม: ความเชื่อของว่าวจุฬา คนในสมัยก่อนใช้ว่าวทำนายผลผลิตถ้าว่าวขึ้นติดลมในปีนั้นจะได้ข้าวเยอะและเขาจะเอาว่าวที่เล่นไปเก็บไว้ในยุ้งข้าวเป็นขวัญข้าวด้วยครับ นอกจากนั้นเขายังเอาห่อข้าวหมากพลูไปติดไว้กับว่าวเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ด้วยครับครูและตัดสายว่าวเพื่อเป็นการตัดเวรตัดกรรมครับ หลังจากจบการสนทนาพี่ๆแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มาจัดข้อมูลนำเสนอในรูปแบบ Time line ในสัปดาห์นี้เกิดปัญหาเนื้อหาที่พี่ๆสืบค้นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของว่าวยังไม่คลอบคลุมพี่ๆจึงเลื่อนการนำเสนอTime line ว่าวในสัปดาห์หน้าค่ะ ในชั่วโมงสุดท้ายครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์
    กิจกรรมผู้ปกครองอาสา
    ในสัปดาห์นี้มีผู้ปกครองพาพี่ๆป.5 ทำว่าวอีลุ่ม ว่าวจุฬา เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้ “ว.ว่าว แล่นลม” ของพี่ๆป.5 หลังจากที่ทำเสร็จแล้วพี่ๆป.5 นำว่าวของตัวเองไปทดลองวิ่งในสัปดาห์นี้พี่ๆต่างก็สนุกสนานและตั้งใจเรียนรู้การทำว่าวจากผู้ปกครองค่ะ

    ตอบลบ