เป้าหมาย(Understanding Goal) : เข้าใจวิธีการและเห็นสัมพันธ์การประดิษฐ์ว่าวที่เชื่อมโยงกับความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นได้ สามารถออกแบบและประดิษฐ์ว่าวของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์

Week 1

เป้าหมายรายสัปดาห์:นักเรียนเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ได้รับชมได้ ทั้งสามารถให้เหตุผลเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome


1
25-28 ..2559

โจทย์ : สร้างแรง /  เรื่องที่อยากเรียนรู้       
Key Questions :
- ใน Quarter นี้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร  เพราะเหตุใดถึงอยากเรียนรู้เรื่องนั้น?      
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้กระดาษและสะนูลอยในอากาศให้ได้นานที่สุดพร้อมให้เกิดเสียง
เครื่องมือคิด
       
Blackboard  Share  ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองการลอยของกระดาษและการแกว่งสะนูให้มีเสียง
Show and Share นำเสนอชิ้นงานผลการทดลอง
Round Rubin แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับผลการทดลอง

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและอุปกรณ์
- กระดาษA4
- เชือก
- สะนู
- ถุงพลาสติก
-คลิปวีดีโอเกี่ยวกับประเพณีว่าว
 จ.บุรีรัมย์
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ชง:
-  ครูและนักเรียนพูดคุยสิ่งที่นักเรียนทำในช่วงปิดเรียน
- ครูนำอุปกรณ์(กระดาษA4กับเชือก) มาให้นักเรียนทดลอง ให้กระดาษลอยอยู่ในอากาศให้นานที่สุด
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดนักเรียนจะทำอย่างไรให้กระดาษลอยอยู่ในอากาศนานที่สุด
- นักเรียนทำการทดลอง และบันทึกผลการทดลอง พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลการทดลองร่วมกัน
- ครูนำสะนูว่าวมาให้นักเรียนทดลองแกว่ง
- นักเรียนทำการทดลอง และบันทึกผลการทดลอง พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลการทดลองร่วมกัน
เชื่อม:
ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับแรงที่มากระทำต่อสะนูที่ทำให้เกิดเสียง
ใช้:
- ครูให้นักเรียนทดลองทำสะนูให้เกิดเสียง
- นักเรียนทำการทดลอง และบันทึกผลการทดลอง พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลการทดลองร่วมกัน
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ชง:
ครูให้นักเรียนนำผลจากการทอลอง 2 กิจกรรม มาประกอบกัน ให้โจทย์ใหม่ “นักเรียนจะทำอย่างไรให้กระดาษและสะนูลอยในอากาศให้ได้นานที่สุดพร้อมให้เกิดเสียง”
ใช้:
- นักเรียนทำการทดลองทำกระดาษและสะนูลอยในอากาศให้ได้นานที่สุดพร้อมให้เกิดเสียง”
- นักเรียนทดลองนำกระดาษและสะนูลอยไปทดลองเล่นและบันทึกผลการทดลอง พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลการทดลอง
เชื่อม:
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทดลองทำกระดาษและสะนูลอยในอากาศให้ได้นานที่สุดพร้อมให้เกิดเสียง
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง:
ครูแจกอุปกรณ์(ถุงพลาสติกกับเชือก)ให้นักเรียนคนละ 1ชุด ครูให้โจทย์จะทำอย่างไรให้ถุงพลาสติกลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนทดลองทำถุงพลาสติกลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุดและบันทึกผลการทดลอง
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับผลการทดลองที่เกิดขึ้น
วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
ชง:
ครูเปิดคลิปวีดีโอเกี่ยวกับประเพณีว่าว จ.บุรีรัมย์ ให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดนักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างไร?
เชื่อม:
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับประเพณีว่าว
 จ.บุรีรัมย์
ใช้:
สรุปสิ่งที่นักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้จากการดูคลิป
ชง:
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “ใน Quarter นี้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพราะเหตุใดถึงอยากเรียนรู้เรื่องนั้น?
เชื่อม:
นักเรียนช่วยกันเลือกเรื่องที่อยากจะเรียน ผ่านเครื่องมือคิด Blackboard  Share 
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจ?
เชื่อม:
นักเรียนช่วยกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ ผ่านเครื่องมือคิด Think  Pair Share
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนช่วยกันทำป้ายหน่วยการเรียนรู้ตกแต่งหน้าห้อง
ชง:                                                                                        
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม  :                                                                   
นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้ :                                                                                    
นักเรียนแต่ละคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

ภาระงาน
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
-พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการเรียนรู้

ชิ้นงาน
- ว่าวกระดาษ/สะนู
- ว่าวถุงพลาสติก
- สมุดบันทึกผลการทดลอง
- สรุปสิ่งที่นักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้จากการดูคลิป
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์1
ความรู้:
นักเรียนเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ได้รับชมได้ ทั้งสามารถให้เหตุผลเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้

ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย




ตัวอย่างภาพกิจกรรม















ตัวอย่างชิ้นงาน






ตัวอย่างสรุปบทเรียนรายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. วันนี้เป็นวันแรกของการเปิดเรียน Quarter3 ในเช้าวันนี้พี่ๆป.5 เข้ามาในห้องต่างก็ดีใจที่ได้เจอเพื่อนๆและครู พี่ๆป.5แต่ละคนต่างก็พูดว่าใน Quarter3 เราเรียนเรื่องว่าวแน่นอนเลยหลังจากที่สนทนาเสร็จพี่ๆป.5 วิ่งเข้ามาถามครูว่าเราเรียนเรื่องว่าวใช่ไหมครู ครูหนันยิ้ม พี่บีมพูดว่าดีเลยผมอยากทำว่าวครับครู ในบ่ายวันนี้ชั่วโมงแรกชั่วโมงบูรณาการพี่ๆป.5 ต่างก็พูดว่าดูคลิปว่าวแน่นอนเลย ครูไม่ได้ตอบอะไรและยิ้มให้ ครูหยิบกระดาษและเชือกมา พี่ๆป.5 แต่ละคนสงสัยว่าครูจะพาทำอะไร พี่ๆป.5 ต่างก็เดาไปต่างๆนานา ครูหนันหยิบกระดาษและเชือกมาให้นักเรียนคนละ 1 ชุด พร้อมให้โจทย์พี่ๆป.5 ว่าจะทำอย่างไรให้กระดาษลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด พี่ๆป.5 แต่ละคนบอกว่าง่ายมากเลยครู ครูให้พี่ๆแต่ละคนออกแบบและทำการทดลองของตัวเองและทดลองเล่น พี่ๆป.5 แต่ละคนออกแบบการทดลองของตัวเองและทดลองเล่นพี่ๆป.5 ต่างก็พากันทดลองเล่นอย่างสนุกสนานหลังจากที่เล่นเสร็จครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับการทดลองร่วมกัน
    พี่สุเอก: ผมทำเป็นแบบวงกลมครบเพราะผมเคยอ่านในหนังสือการที่ทำเป็นวงกลมจะทำให้กระดาษเกิดแรงต้านลมและเกิดแรงพยุงทำให้กระดาษลอง
    พี่มอญ: ทำเป็นรูปจรวดพี่มอญให้เหตุผลว่าตอนเด็กๆผมเคยทำเล่นกับพี่แล้วพี่ก็ชนะผมผมทำตอนแรกเป็นรูปจรวด 2 หัวแต่มันหนักหัวเลยไม่ขึ้นแต่ผมทำแบบไม่มีหัวและพับหลายหยักกว่าเดิมมันลอยได้อยู่ในอากาศนานเพราะมันมีที่รับลมครับ พี่ๆป.5 แต่ละคนพูดคุยวิเคราะห์การทดลองของตนเอง ในวันที่สองครุให้นักเรียนทดลองนำถุงพลาสติกกับเชือกโดยให้โจทย์พี่ๆป.5 นักเรียนจะทำอย่างไรให้ถุงพลาสติกลอยอยุ่บนอากาศได้นานที่สุด? นักเรียนแต่ละคนออกแบบถุงพลาสติกให้ลอยอยู่บนอากาศได้นานที่สุดและทำการทดลองพร้อมวิเคราะห์ผลการทดลองร่วมกันหลังจากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละคนทดลองแกว่งสะนูพร้อมกับตั้งคำถามกระตุ้นการคิดทำไมเสียงจากสะนูเกิดขึ้นได้อย่างไร? พี่โต้ง พี่อาร์ม พี่บีม: ก็เกิดจากเสียงเชือกครับครูพอเราแกว่งเชือกก็จะต้านลมทำให้เกิดเสียงครับ พี่บีม:ครูผมเห็นตาผมใช้ใบตาลแทนเชือกครับ
    หลังจากจบสนทนาครูเปิดคลิปวีดีโอเรื่องประเพณีว่าว จ.บุรีรัมย์ ให้นักเรียนดูหลังจากดูจบครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดนักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปปรับใช้กับตัวเอง พี่น้ำอ้อย:หนูเพิ่งรู้ว่าในบุรีรัมย์มีประเพณีแข่งว่าวค่ะ พี่น้ำมนต์:หนูเพิ่งรู้ว่าว่าวที่เราใช้เล่นให้สนุกสนานยังใช้ในการสะเดาะเคราะห์ด้วยค่ะ พี่เฟรม: ว่าวสองห้องเรียนอีกชื่อหนึ่งว่าว่าวแม่ลูกครับหลังจากพูดคุยกันจบครูให้นักเรียนเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้พี่ๆป.5 22 คนอยากเรียนรู้เรื่องว่าวค่ะ ครุจึงให้พี่ๆตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Think pair share ได้ชื่อหน่วยการเรียนรู้ว่า “ว.ว่าว Wow wow.” พี่ๆป.5 ให้เหตุผลว่าอยากเรียนรู้กระบวนการทำว่าวทำอย่างไรเราเคยแต่เล่นแต่ไม่เคยรู้เลยว่าทำยังไงจึงอยากเรียนรู้เพื่อที่จะทำว่าวเป็นของตัวเอง ว่าวมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ว่าวแต่ละภาคเหมือนกันหรือแตกต่างกัน รวมทั้งว่าวเกี่ยวข้องเขื่อมโยงยังไงกับตัวเราค่ะ หลังจากที่ได้ชื่อหน่วยการเรียนรู้แล้วครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์

    ตอบลบ