เป้าหมาย(Understanding Goal) : เข้าใจวิธีการและเห็นสัมพันธ์การประดิษฐ์ว่าวที่เชื่อมโยงกับความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นได้ สามารถออกแบบและประดิษฐ์ว่าวของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์

Week 6

เป้าหมายรายสัปดาห์:เข้าใจและสามารถอธิบายองค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศ แรงที่กระทำต่อว่าวได้
Week
Input
Process
Output
Outcome



6
28 ..
-2..
2559

โจทย์ : ออกแบบและประดิษฐ์ว่าว
Key Questions :
- ทำไมว่าวจึงสามารถลอยได้?
-นักเรียนจะประดิษฐ์แต่ละชนิดให้ลอยอยู่บนอากาศได้อย่างไร?
- ทำไมต้องใช้ไม้ไผ่ในการทำโครงว่าวใช้วัสดุอื่นได้หรือไม่เพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด
Round Robin พูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับการลอยได้ของว่าว
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับจะประดิษฐ์แต่ละชนิดให้ลอยอยู่บนอากาศได้
Show and Share นำเสนอเกี่ยวกับการทดลองทำว่าวรวมทั้งพูดคุยวิเคราะห์ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนาว่าวของตนเองอีกครั้ง
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องสมุด
- internet
- อุปกรณ์ทำว่าว(ไม้ไผ่ เชือก สะนู และมีด)
- บรรยากาศในห้องเรียน

วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง:
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมว่าวจึงสามารถลอยได้”
-ทำไมต้องใช้ไม้ไผ่ในการทำโครงว่าวใช้วัสดุอื่นได้หรือไม่เพราะเหตุใด
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับการลอยได้ของว่าว
- ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับการทำโครงว่าววัสดุอื่น
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนออกแบบและลงมือปฏิบัติทำว่าวของตนเอง

วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนออกแบบและลงมือปฏิบัติทำว่าวของตนเอง
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนออกแบบและลงมือปฏิบัติทำว่าวของตนเอง
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้: (ต่อ)
นักเรียนแต่ละคนออกแบบและลงมือปฏิบัติทำว่าวของตนเอง

วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนนำว่าวของตนเอง มาเล่นวิ่งว่าว พร้อมกับนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รู้จักว่าวมากขึ้น
ชง:
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม :                                                                                     - นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Rubinพร้อมทั้งรวมทั้งพูดคุยวิเคราะห์ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนาว่าวของตนเองอีกครั้ง
ใช้ :      
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก                                                                              
- นักเรียนแต่ละคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่6 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย

ภาระงาน
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับการลอยได้ของว่าว
- นักเรียนแต่ละคนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับจะประดิษฐ์แต่ละชนิดให้ลอยอยู่บนอากาศได้
ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับการทำโครงว่าววัสดุอื่น
- นักเรียนนำเสนอเกี่ยวกับการทดลองทำว่าวรวมทั้งพูดคุยวิเคราะห์ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนาว่าวของตนเองอีกครั้ง

ชิ้นงาน
- ว่าวแต่ละชนิด
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
(บันทึกผลการทดลอง)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที 6
ความรู้:
เข้าใจและสามารถอธิบายองค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศ แรงที่กระทำต่อว่าวได้

ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-  เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม 
เรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการแก้ปัญหา
 -  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำว่าวและการวิ่งว่าวได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับว่าว และวิธีการทำว่าวให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูล /การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นได้
สร้างสรรค์ชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจจากสิ่งที่ได้เรียนรู้
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
มีวินัยและความรับผิดชอบ
ต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย




ตัวอย่างภาพกิจกรรม









ตัวอย่างชิ้นงาน






ตัวอย่างสรุปบทเรียนรายสัปดาห์






1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบและการประดิษฐ์ว่าวต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 5 ซึ่งในสัปดาห์นี้มีวิทยากรคุณครูวุฒิและคุณครูอ้นมาร่วมออกแบบโครงสร้างและการสร้างสรรค์ว่าวในรูปแบบต่างๆพี่ๆป.5 ต่างก็ให้ความสนใจและตั้งใจเรียนรู้กับวิทยากรหลังจากที่ทำกิจกรรมออกแบบและทำว่าวเสร็จพี่ๆแต่ละคนนำว่าวของตนเองออกมาทดลองวิ่งกันอย่างสนุกสนาน ในชั่วโมงต่อมาครูตั้งคำถามกระตุ้นคิดนักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากวิทยากร พี่ๆป.5 แต่ละคนร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
    พี่น้ำอ้อย: หนูเพิ่งรู้ว่าสายสะนูเรียกอีกขื่อว่าเบิ้นค่ะ
    พี่เบียร์: ผมรู้ว่าหวายก็เอามาทำสะนูได้ครับ
    พี่บาส: ผมได้รู้ว่าสายสะนูของภาคใต้จะใช้สุดสายส่วนภาคอีสานจะใช้เชือกมัดไว้ครับ
    พี่วิว: หนูได้รู้ว่าภาคกลางเล่นว่าฤดูร้อน ภาคอีสานเล่นว่าวในฤดูหนาวค่ะ พี่
    สุเอก: ผมได้เรียนรู้จากครูอ้นว่ามีดาวว่าวด้วยครับ ดาวว่าวจะบอกทิศทางและทำนายผลผลิตด้วยครับ
    พี่น้ำฝน: หนูได้รู้ว่าการเลือกไม้ไผ่เราต้องเลือกไม้ไผ่ที่เงาค่ะจะเป็นไม้ไผ่ที่แก่เหมาะแก่การทำว่าค่ะ พี่น้ำอ้อย: หนูได้รู้ว่าเสียงสะนูว่าวทำให้คนแก่ที่นอนเฝ้าข้าวไม่ไหลตายค่ะครู
    พี่กัน: เสียงของสะนูว่าวมี 7 เสียงค่ะ
    หลังจากที่จบการสนทนาพี่ๆแต่ละคนถอดบทเรียนการเรียนรู้จากวิทยากรและนำเสนอให้คุณครูและเพื่อนๆได้รับฟัง ในสัปดาห์นี้พี่ๆต่างก็จดจ่อกับการทำว่าวของตัวเอง เห็นความพยายามอดทน ตั้งใจทำอย่างจดจ่อเมื่อถึงชั่วโมงที่จะทำว่าวของตนเองไปทดลองพี่ๆต่างก็ตื่นเต้นสนุกสนานกับการวิ่งว่าว ว่าวของเพื่อนและคูณครูติดลมบนพี่ๆต่างก็พากันดีใจหลังจากที่นำว่าวไปทดลองเสร็จครูแบะพี่ๆนั่งล้อมวงเป็นวงกลมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้ ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนพบเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร รวมทั้งจะปรับปรุงพัฒนาว่าวของตัวเองอย่างไรให้ลอยอยู่บนอากาศให้นานที่สุด?
    พี่บีม: ว่าวของผมขึ้นและติดลมบนครับผมเป็นเพราะว่าวของผมสมดุลไม้หนักจนเกินไปและปีกสองข้างของว่าวผมทำเป็นปีกแอ่นรับผมได้ดีจึงติดลมบนง่ายครับ
    พี่น้ำมนต์: ว่าวของหนูหนักเกินไปค่ะครูเวลาวิ่งหัวจึงทิ่มลงมาแต่หนูก็เติมพู่เติมหางว่าถึงสมดุลค่ะ
    แป้ง: ว่าวหนูพอหนูวิ่งแล้วมันหมุนเป็นรูปวงกลมค่ะ เพราะว่าวหนูไม่สมดุลค่ะ หลังจากที่ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาเสร็จนักเรียนแต่ละคนร่วมสรุปบทเรียนรายสัปดาห์

    ตอบลบ