เป้าหมาย(Understanding Goal) : เข้าใจวิธีการและเห็นสัมพันธ์การประดิษฐ์ว่าวที่เชื่อมโยงกับความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นได้ สามารถออกแบบและประดิษฐ์ว่าวของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์

Week 7

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการทำว่าวแบบต่างๆ( ว่าวจุฬาว่าวสองห้อง ว่าวอีลุ้ม และสะนู )รวมทั้งสามารถออกแบบและลงมือปฏิบัติทำว่าวของตนเองได้
Week
Input
Process
Output
Outcome


7
5-9 .. 2559

โจทย์ : 
เรียนรู้วิธีการทำว่าวและสะนู จากวิทยากร
Key Questions :
 “นักเรียนคิดว่าว่าวมีวิธีการทำอย่างไร?”
เครื่องมือคิด
Round Robin พูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับการลอยได้ของว่าว(องค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศได้)
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับจะประดิษฐ์แต่ละชนิดให้ลอยอยู่บนอากาศได้
Show and Share นำเสนอเกี่ยวกับการทดลองทำว่าวรวมทั้งพูดคุยวิเคราะห์ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนาว่าวของตนเองอีกครั้ง
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- นักเรียน
- ครู
- วิทยากร
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- internet
- อุปกรณ์ทำว่าว(ไม้ไผ่ เชือก สะนู และมีด)
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง:
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา
เชื่อม:
- แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับว่าว และสรุปความเข้าใจในรูปแบบต่างๆ
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับว่าวในรูปแบบต่างๆพร้อมนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง
วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ชง:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าว่าวมีวิธีการทำอย่างไร?”
เชื่อม:
- เชิญวิทยากรแนะนำและสาธิตวิธีการทำว่าวแบบต่างๆ ( ว่าวจุฬาว่าวสองห้อง ว่าวอีลุ้ม และสะนู )
ใช้:
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบและลงมือปฏิบัติทำว่าวของตนเอง
- นักเรียนแต่ละคนนำว่าวของตนเอง มาเล่นวิ่งว่าว พร้อมกับนำเสนอให้น้องๆที่โรงเรียนได้รู้จักว่าวมากขึ้น
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนถอดบทเรียนเรียนรู้วิธีการทำว่าวและสะนู จากวิทยากร
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่ได้ทำ
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนนำเสนอถอดบทเรียนเรียนรู้วิธีการทำว่าวและสะนู จากวิทยากร
วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
ชง:
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม :                                                                                     - นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Rubinพร้อมทั้งรวมทั้งพูดคุยวิเคราะห์ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนาว่าวของตนเอง
ใช้ :      
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก                                                                              
- นักเรียนแต่ละคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย


ภาระงาน
 - แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับว่าว และสรุปความเข้าใจในรูปแบบต่างๆ
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบและลงมือปฏิบัติทำว่าวของตนเอง
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่ได้ทำ

ชิ้นงาน
- ว่าวจุฬาว่าวสองห้อง ว่าวอีลุ้ม และสะนู
- ถอดบทเรียน
 - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่7
ความรู้:
เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการทำว่าวแบบต่างๆ( ว่าวจุฬาว่าวสองห้อง ว่าวอีลุ้ม และสะนู )รวมทั้งสามารถออกแบบและลงมือปฏิบัติทำว่าวของตนเอง
ได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-  เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม 
เรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการแก้ปัญหา
 -  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำว่าวและการวิ่งว่าวได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับว่าว และวิธีการทำว่าวให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะ ICT
การสืบค้นข้อมูล /การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ :
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นได้
สร้างสรรค์ชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจจากสิ่งที่ได้เรียนรู้
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
มีวินัยและความรับผิดชอบ
ต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย



ตัวอย่างภาพกิจกรรม










ตัวอย่างชิ้นงาน







ตัวอย่างสรุปบทเรียนการเรียนรู้รายสัปดาห์



1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.5 ได้ทำกิจกรรม Home Schoolday เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบและประดิษฐ์ว่าวร่วมกับกับผู้ปกครอง ครูทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ร่วมกันกับผู้ปกครองนักเรียนแต่ละคนนำเสนอผลงานการออกแบบและประดิษฐ์ว่าวของตนเอง
    พี่แป้ง: หนูทำเป็นรูปว่าวงูค่ะหนูทำกับตาช่วยกันทำค่ะครู
    พี่เบียร์ พี่เฟรม: พวกผมทำเป็นว่าวจุฬาครับ พวกผมเหลาไม้ทำเป็นสะนูใส่ด้วยพวกผมเหลาไม้กับตาพี่เฟรมครับ
    พี่น้ำอ้อย: หนูทำเป็นว่าวจุฬาหางปลาค่ะหนูกับตาช่วยกันเหลาไม้และขึ้นโครงหนูก็เอากระดาษมาแปะติดค่ะ
    พี่วิว: หนูทำว่าวจุฬาค่ะหนูกับแม่ชวยกันมัดโครงและทำช่วยกันค่ะ
    พี่ๆป.5 ต่างก็นำเสนอผลงานว่าวของตัวเองหลังจากนั้นครูให้พี่ๆป.5แต่ละคนนำว่าวของตัวเองไปทดลองวิ่งและบันทึกผลการทดลองพี่ๆป.5 ต่างก็นำว่าวของตนเองไปวิ่งทดลองอย่างสนุกสนานหลังจากที่วิ่งว่าวเสร็จครูและนักเรียนนั่งเป็นวงกลมพูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับผลการทดลองวิ่งว่าว พี่บีม พี่บาส พี่เบียร์ พี่เฟรม: ว่าวของผมขึ้นติดลมบนเพราะผมเหลาไม้ปีกให้แอ่นเพื่อให้มันต้านลมและให้สมดุลครับ
    พี่นำมนต์: ว่าวของหนูยังไม่สมดุลหนูก็เติมพู่ที่หางค่ะ
    พี่สุเอก: ความรู้ใหม่ของผมคือถ้าว่าวหนักหัวพอเราส่งขึ้นไปว่าวของเราจะหมุนให้เติมพู่เติมหางให้สมดุลครับ หลังจากที่จบการสนทนาครูให้นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบและประดิษฐ์ว่าวของตนเองในรูปแบบการ์ตูนช่องพร้อมนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟังร่วมกัน ในชั่วโมงสุดท้ายครูแลละนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้นักเรียนแต่ละคนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์

    ตอบลบ