เป้าหมาย(Understanding Goal) : เข้าใจวิธีการและเห็นสัมพันธ์การประดิษฐ์ว่าวที่เชื่อมโยงกับความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นได้ สามารถออกแบบและประดิษฐ์ว่าวของตนเองได้อย่างสร้างสรรค์

Week 4

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายองค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศ แรงที่กระทำต่อว่าวได้

Week
Input
Process
Output
Outcome



4
14-18 .. 2559

โจทย์ : ออกแบบและประดิษฐ์ว่าว
Key Questions :
- ทำไมว่าวจึงสามารถลอยได้?
-นักเรียนจะประดิษฐ์แต่ละชนิดให้ลอยอยู่บนอากาศได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Round Robin พูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับการลอยได้ของว่าว(องค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศได้)
Brainstorms ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับจะประดิษฐ์แต่ละชนิดให้ลอยอยู่บนอากาศได้
Show and Share นำเสนอเกี่ยวกับการทดลองทำว่าวรวมทั้งพูดคุยวิเคราะห์ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนาว่าวของตนเองอีกครั้ง
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องสมุด
- internet
- อุปกรณ์ทำว่าว(ไม้ไผ่ เชือก สะนู และมีด)
- บรรยากาศในห้องเรียน

วันจันทร์ 2 ชั่วโมง
ชง:
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมว่าวจึงสามารถลอยได้”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับการลอยได้ของว่าว
ใช้:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาองค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่บออากาศ (องค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศได้คือ
1. กระแสลมที่เคลื่อนที่ไปในแนวขนานกับผิวโลกทางใดทางหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ
2. พื้นที่ให้กำลังยกหรือแรงยกได้แก่พื้นที่ของตัวว่าว

3. อุปกรณ์บังคับ ได้แก่ เชือกหรือด้ายรั้งว่าว และสายซุง ซึ่งทำหน้าที่ปรับมุมปะทะของอากาศกับพื้นที่ของตัวว่าว ทำให้เกิดแรงยกและแรงดัน)

วันอังคาร 2 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอองค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่บออากาศให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง
ชง:
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะประดิษฐ์แต่ละชนิดให้ลอยอยู่บนอากาศได้อย่างไร?
เชื่อม:
นักเรียนแต่ละคนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับจะประดิษฐ์แต่ละชนิดให้ลอยอยู่บนอากาศได้
วันพุธ 1 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนแต่ละคนเตรียมอุปกรณ์มาทดลองทำว่าวของตนเอง
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้:
นักเรียนทดสอบนำว่าวที่ทำเสร็จไปลองเล่น
เชื่อม:
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการทดสอบว่าวของตนเอง
ใช้:
- นักเรียนนำเสนอเกี่ยวกับการทดลองทำว่าวตัวเองให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟัง
วันศุกร์ 3 ชั่วโมง
ชง:
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
เชื่อม:                                                                                     - นักเรียนร่วมกันสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Round Rubinพร้อมทั้งรวมทั้งพูดคุยวิเคราะห์ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนาว่าวของตนเองอีกครั้ง
ใช้ :      
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็กเล็ก                                                         
- นักเรียนแต่ละคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่3 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่4 ผ่านชิ้นงานที่หลากหลายเช่น Flowchart, Mind Mapping ,การ์ตูนช่อง และบรรยาย
ภาระงาน
 - นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาองค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่บออากาศ (องค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศ)ได้
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาวิเคราะห์เกี่ยวกับการลอยได้ของว่าว
- นักเรียนแต่ละคนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับจะประดิษฐ์แต่ละชนิดให้ลอยอยู่บนอากาศได้
- นักเรียนนำเสนอเกี่ยวกับการทดลองทำว่าวรวมทั้งพูดคุยวิเคราะห์ปัญหา/วิธีการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงพัฒนาว่าวของตนเองอีกครั้ง

ชิ้นงาน
- ว่าวแต่ละชนิด
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
(บันทึกผลการทดลอง)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที 4
ความรู้:
เข้าใจและสามารถอธิบายองค์ประกอบของว่าวที่จะลอยอยู่ในอากาศ แรงที่กระทำต่อว่าวได้

ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนให้สอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
- สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ ICT
- อธิบายและรู้แหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลาย
- เลือกใช้และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
ทักษะการเรียนรู้
- วางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

คุณลักษณะ
:
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- กระตือรือร้นในการทำงาน
  และการทำกิจกรรมจนสำเร็จ
- ทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย




ตัวอย่างภาพกิจกรรม








ตัวอย่างชิ้นงาน










ตัวอย่างสรุปบทเรียนรายสัปดาห์















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.5 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้ว่าวลอยได้ ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 3 ในชั่วโมงแรกของสัปดาห์ที่ 4 พี่ๆป.5 นำเสนอ Time lime ประวัติความเป็นมาของว่าวแต่ละชนิดต่อจากสัปดาห์ที่แล้วพี่ๆแต่ละกลุ่มตั้งใจนำเสนอ Time line ของตนเองให้เพื่อนๆรับฟังอย่างสนุกสนานพี่ๆแต่ละกลุ่มช่วยกันต่อเติม Time line ของเพื่อนๆ ในชั่วโมงต่อมาครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ทำไมว่าวถึงลอยอยู่บนอากาศได้ พี่ๆป. ต่างก็ช่วยกันระดมความคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการลอยได้ของว่าวว่าต้องมีลมเป็นองค์ประกอบหลักแน่นอนค่ะ/ครับ พี่แป้ง : หนูสืบค้นมาแล้วค่ะครูต้องมีแรงขับ แรงต้าน แรงยกค่ะ พี่น้ำมนต์: ต้องมีแรงน้ำหนักโน้มถ่วงของโลกด้วยค่ะครู พี่เฟรม : พื้นที่ว่าวครับ พี่น้ำอ้อย: กระแสลมทำให้ว่าวลอยได้เมื่อเรายกว่าวขึ้นไปว่าวจะเกิดแรงต้านค่ะเมื่อเราดึงเชือกก็จะเกิดแรงดันทำให้ว่าวลอยได้ พี่ชอ: ตอนที่เราปล่อยว่าเราต้องปล่อยว่าวประมาณ 45 องศาค่ะ หลังจากนั้นครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนสืบค้นองค์ประกอบที่ทำให้ว่าวลอยได้พร้อมนำข้อมูลมานำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลรวมกันอีกครั้ง พี่ๆป.5 การที่จะทำให้ว่าวลอยเราจะต้องปล่อยประมาณ 45 องศาถึงจะดีโดยมีแรงที่จะทำให้ว่าวลอยจะมี แรงที่ 1 แรงดึง แรงที่ 2 แรงดัน แรงที่ 3 แรงยก และแรงที่ 4 แรงต้าน ถ้าว่าวจะลอยดีต้องมีแรงลมเป็นหลักค่ะ/ครับ จากนั้นพี่ๆป.5 สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ทำให้ว่าวลอยได้และแรงที่มากระทำกับว่าวพร้อมออกแบบว่าวของตนเองและนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆได้รับฟังรวมกันค่ะ ในสัปดาห์นี้พี่ๆป.5 ต่างก็ตื่นเต้นและดีใจที่จะได้เตรียมอุปกรณ์มาทำว่าวในสัปดาห์ที่ 5 ค่ะ

    ตอบลบ